เมนู

ด้วยว่า เมื่อใดจิตกำหนัดของอิตถีอุภโตพยัญชนกะเกิดในหญิง ก็ใน
กาลนั้น เครื่องหมายเพศชายย่อมปรากฏ. เครื่องหมายเพศหญิงย่อมปิดบัง
ซ่อนเร้น ปุริสอุภโตพยัญชนกะนอกนี้ ก็มีเครื่องหมายเพศหญิงนอกนี้เหมือนกัน
ผิว่า อินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะทั้งสองเหล่านั้น พึงมีเครื่องหมายที่ 2 ไซร้
เครื่องหมายเพศทั้ง 2 ก็พึงตั้งอยู่แม้ในกาลทุกเมื่อ แต่ว่าหาได้ตั้งอยู่ไม่ เพราะ
ฉะนั้น อินทรีย์นั้นพึงทราบ คำนี้ว่า อินทรีย์นั้นของอุภโตพยัญชนกะนั้นเป็น
เหตุแห่งเครื่องหมายเพศหามิได้ แต่ในที่นี้ เหตุคือจิตสัมปยุตด้วยราคะมีกรรม
เป็นสหาย ก็เพราะอินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะนั้นมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น
อิตถีอุภโตพยัญชนกะ แม้ตนเองก็ตั้งครรภ์ได้ ย่อมทำให้บุคคลอื่นตั้งครรภ์ก็ได้
ส่วนปุริสอุภโตพยัญชนกะ ย่อมทำบุคคลอื่นให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ตนเองย่อม
ตั้งครรภ์ไม่ได้ ฉะนี้แล.

อรรถกถาชีวิตินทริยนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์ คำใดที่ข้าพเจ้าควรกล่าว
ในชีวิตินทริยนิทเทสนี้ คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรูปชีวิตินทรีย์ ในหนหลัง
แล้วทั้งนั้น ก็ในอรูปชีวิตินทรีย์นั้นตรัสไว้ว่า อรูปธรรมใด ของอรูปธรรม
เหล่านั้น แต่ในชีวิตินทริยนิทเทสนี้ตรัสว่า รูปธรรมใด ของรูปธรรมเหล่านั้น
เพราะความเป็นรูปชีวิตินทรีย์ นี้เป็นเนื้อความต่างกัน แต่ลักษณะเป็นต้น
ของรูปชีวีตินทรีย์นั้น พึงทราบอย่างนี้.
สหชาตรูปานุปาลนลกฺขณํ ชีวิตินฺทริยํ ชีวิตินทรีย์มีการตาม
รักษารูปที่เกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความเป็นไปของ
รูปธรรมเหล่านั้นเป็นรส เตสฺเยว ฐปนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความดำรงอยู่ซึ่ง

รูปธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน ยาจยิตพฺพภูตปทฏฺฐานํ มี
ภูตรูปอันยังรูปธรรมให้ดำเนินไปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้แล.

อรรถกถากายวิญญัตตินิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในกายวิญญัตินิทเทสต่อไป.
ในข้อว่า กายวิญญัตติ นี้ก่อน. สภาวะที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะ
อรรถว่าความที่คนทั้งหลายก็ดี หรือสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ดี ให้รู้ภาวะของตน
ด้วยกาย แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ความหมายของคนได้ แม้คนก็รู้ความหมายของ
สัตว์ได้ด้วยสภาวธรรมที่ถือเอานี้โดยทำนองแห่งการถือเอากาย.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ตนเองย่อมให้ผู้อื่น
รู้ได้โดยทำนองแห่งการกำหนดกาย. วิญญัตติคือกาย กล่าวคือการไหวกาย ที่
ตรัสไว้ในคำมีอาทิว่า กาเยน สํวโร สาธุ (การสำรวมกายเป็นการดี) ดังนี้
ชื่อว่า กายวิญญัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กายวิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงให้
รู้ด้วยกาย เพราะเป็นเหตุให้รู้ความประสงค์ด้วยการไหวกายต่าง ๆ และเพราะ
ตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.
ในคำมีอาทิว่า กุสลจิตฺตสฺส วา (ของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล)
อธิบายว่า จิตของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศลด้วยจิต 9 คือ กามาวจรกุศลจิต 8 ดวง
อภิญญาจิต 1 ดวง หรือผู้มีจิตเป็นอกุศลด้วยอกุศลจิต 12 ดวง หรือมี
จิตที่เป็นอัพยากฤต ด้วยกิริยาจิต 11 ดวง คือ มหากิริยาจิต 8 ดวง ปริตต-
กิริยาจิต 2 ดวง อภิญญาที่เป็นรูปาวจรกิริยาจิต 1 ดวง อื่น ๆ จากนี้
ย่อมไม่ยังวิญญัตติให้เกิดได้. ก็พระเสกขะ พระอเสกขะ และปุถุชนก็มีวิญญัตติ